วิชาโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทร 02026

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

1.2 แนวคิดการทำโครงงาน

1.2.  แนวคิดของการทำโครงงาน
                         
                            
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Blom) ทั้ง 6 ขั้น คือ ความรู้ความจำ(Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้(Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์(Synthesis) การประเมินค่า (Evaluation) และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงานโดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้แคทซ์และชาร์ด (Katz and Chard , 1994) กล่าวถึงการสอนแบบโครงงานว่า วิธีการสอนนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนทั้งชีวิตและจิตใจ (Mind) ซึ่งชีวิตจิตใจในที่นี้หมายรวมถึง ความรู้ ทักษะอารมณ์ จริยธรรม และความรู้สึกถึงสุนทรียศาสตร์และได้เสนอว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบโครงงานว่าควรมีเป้าหมาย
หลัก 5 ประการ คือ
1) เป้าหมายทางสติปัญญาและเป้าหมายทางจิตใจของผู้เรียน(Intellectual Goals and the Life of the Mind) คือการจัดการเรียนการสอนแบบเตรียมความพร้อม มุ่งให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย และการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆรอบตัว ผู้เรียนควรจะได้เข้าใจประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นเป้าหมายหลักของการเรียนระดับนี้จึงเป็นการมุ่งให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ ความเข้าใจโลกที่อยู่รอบ ๆ ตัวเขา และปลูกฝังคุณลักษณะการอยากรู้อยากเรียนให้กับผู้เรียน
2) ความสมดุลของกิจกรรม (Balance of Activities) การสอนแบบโครงงานจะทำ ให้ผู้เรียน ได้ปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมทั้งกิจกรรมทางวิชาการ ใช้กิจกรรมเป็นสื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรม ค้นหาความรู้ เป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว
3) สถานศึกษาคือส่วนหนึ่งของชีวิต (School as Life) การเรียนการสอนในสถานศึกษาต้องเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้เรียนไม่ใช่แยกออกจากชีวิตประจำวันโดยทั่วไป กิจกรรมในสถานศึกษาจึงควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำ เนินชีวิตปกติ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและผู้คนรอบ ๆ ตัวผู้เรียน
4) ศกร.เป็นชุมชนหนึ่งของผู้เรียน (Community Ethos in theClass) ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตัว การสอนแบบโครงงานเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแต่ละคนได้แสดงออกถึงคุณลักษณะ ความรู้ ความเข้าใจความเชื่อของเขา ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบนี้จึงเกิดการแลกเปลี่ยน การมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ผู้เรียนได้เรียนรู้ความแตกต่างของตนกับเพื่อน ๆ
5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ท้าทายครู (Teaching asa Challenge) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ครูไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน แต่เป็นผู้คอยกระตุ้น ชี้แนะ และให้ความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน โครงงานบางโครงงานครูเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับผู้เรียน ครูร่วมกันคิดหาวิธีแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติไปด้วยกัน ถือเป็นการเรียนรู้ร่วมกัน
                    


ไม่มีความคิดเห็น: